วันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

หลักการเล่นเปตอง

1. เปตองเป็นกีฬาที่เล่นโดยมีผู้เล่น 2 ฝ่าย และแบ่งการเล่นออกได้ ดังนี้ - ผู้เล่นฝ่ายละ 3 คน (Triples) - ผู้เล่นฝ่ายละ 2 คน (Doubles) - ผู้เล่นฝ่ายละ 1 คน (Single) 1.1 ในการเล่ยฝ่ายละ 3 คนผู้เล่นแต่ละคนต้องมีลูกเปตองคนละ 2 ลูก 1.2 ในการเล่นฝ่ายละ 2 คนผู้เล่นแต่ละคนต้องมีลูกเปตองคนละ 3 ลูก 1.3 ในการเล่นฝ่ายละ 1 คนผู้เล่นแต่ละคนต้องมีลูกเปตองคนละ 3 ลูก 1.4 ห้ามจัดให้มีการเล่นนอกเหนือจากกฎที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 1 นี้ ข้อ 2. ลูกเปตองที่ใช้เล่นต้องได้รับการรับรองจากสหพันธ์เปตองนานาชาติหรือสมาคมสหพันธ์เปตองแห่งประเทศไทยฯ และต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ ก. เป็นโลหะ ข. มีเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 7.05-8.00 เซนติเมตร ค. มีน้ำหนักระหว่าง 650 - 800 กรัม จะต้องมีเครื่องหมายของโรงงานผู้ผลิต ตัวเลขแสดงน้ำหนักและเลขรหัส ปรากฏบนลูกเปตอง อย่างชัดเจน ง. เป็นลูกเปตองที่ผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์ฯ และห้ามเปลี่ยนแปลงสภาพเดิม ไม่ว่าจะใช้ตะกั่วบัดกรี หรือนำเอาดินทราย มาติดเพิ่มหรือใส่ลงในลูกเปตองในลักษณะที่มีเจตนาส่อไปในทางทุจริตแต่อนุญาตให้เจ้าของสลักชื่อ หรือเครื่องหมายบนลูกเปตอง 2.1 ผู้เล่นที่ฝ่าฝืนหรือละเมิดกฎข้อ 2(ง) จะถูกลงโทษให้ออกจากการแข่งขัน 2.2 ลูกเปตองที่ถูกเปลี่ยนแปลงสภาพเดิม ผู้กระทำผิดจะถูกลงโทษดังนี้ ก. กรณีปลอมแปลงลูกเปตองผู้กระทำผิดจะถูกถอนใบอนุญาต(บัตรประจำตัวนักกีฬา) 15 ปี และอาจถูก ลงโทษจากคณะกรรมการวินัยอีกด้วย ข. กรณีใช้ความร้อนเพื่อดัดแปลงสภาพของลูกเปตอง ผู้กระทำผิดจะถูกถอนใบอนุญาต (บัตรประจำตัว นักกีฬา) 2 ปี และห้ามเข้าทำการแข่งขันชนะเลิศแห่งชาติ และนานาชาติเป็นระยะเวลา 3 - 5 ปี 2.3 กรณีหนึ่งกรณีใดที่ได้ระบุไว้ใน ข้อ 2.2 (ก) และ(ข) ถ้าผู้เล่นได้ยืมลูกเปตองจากผู้อื่นมาเล่น เจ้าของลูกเปตองผู้ให้ยืม จะถูกลงโทษภาคทัณฑ์เป็นระยะเวลา 2 ปี 2.4 ถ้าลูกเปตองนั้นมิได้ถูกกระทำทุจริต แต่เนื่องจากลูกเปตองนั้นเก่ามากหรือมีการผิดพลาดจากโรงงานผู้ผลิตและเมื่อ ตรวจสอบแล้วไม่ได้ลักษณะตามที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 2 (ก),(ข),และ(ค) จะต้องเปลี่ยนลูกเปตองนั้นทันทีและอาจเปลี่ยนแปลงเกมส์การเล่นใหม่ 2.5 เพื่อประโยชน์ของฝ่ายตน ก่อนทำการแข่งขันทุกครั้ง ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายควรตรวจสอบลูกเปตองของตน และฝ่ายตรง ข้ามให้ถูกต้องตามเงื่อนไขที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 2(ก),(ข)และ(ค) 2.6 ในกรณีที่มีการผ่าลูกเปตองเพื่อตรวจสอบ ถ้าลูกเปตองนั้นมิได้ถูกกระทำการทุจริต ฝ่ายประท้างจะต้องรับผิดชอบชดใช้ หรือเปลี่ยนลูกเปตองนั้นให้แก่ฝ่ายเสียหายและเจ้าหองลูกเปตองไม่มีสิทธิ์ที่จะเรียกร้องค่าเสียหายใดๆอีก 2.7 ในระหว่างการแข่งขัน ผู้ตัดสินและกรรมการชี้ขาดอาจตรวจสอบลูกเปตองของผู้เล่นทุกคนได้ทุกเวลา 2.8 การประท้วงของนักกีฬาว่าด้วยเรื่องการตรวจสอบลูกเปตองจะกระทำได้ในระหว่างการเล่น 2 เที่ยวแรกเท่านั้น 2.9 กลังจากเล่นเที่ยวที่ 3 แล้วถ้ามีการประท้วงเกี่ยวกับลูกเปตองของฝ่ายตรงข้ามเมื่อตรวจสอบแล้วพบว่าลูกเปตอง นั้นไม่ผิดกติกาแต่อย่างใดฝ่ายที่ประท้วงจะถูกปรับ 3 คะแนนโดยนำไปเพิ่มในป้ายคะแนนฝ่ายตรงข้าม 2.10 ลูกเป้าต้องทำด้วยไม้หรือใยสังเคราะห์ มีเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 25 - 35 ม.ม. และอาจทาสีได้ แต่ต้องสามารถ มองเห็นได้ชัดเจนในขอบเขตของสนาม ข้อ 3. ก่อนเริ่มการแข่งขัน หากกรรมการผู้ตัดสินหรือผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามขอตรวจสอบใบอนุญาต (บัตรประจำตัวนักกีฬา) ผู้เล่นนั้นๆจะต้องแสดงให้ดูทันที ใบอนุญาต(บัตรประจำตัวนักกีฬา)ทุกประเภทต้องออกดดยสมาคมสหพันธ์เปตองแห่งประเทศไทยฯมีรูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว มีลายเซ็นของผู้ถือบัตร และต้องมีตราของชมรม หรือสมาคมนั้น ประทับคาบอยู่บนรูปถ่ายด้วย ข้อ 4. ห้ามผู้เล่นทุกคนเปลี่ยนลูกเป้าหรือลูกเปตองในระหว่างการแข่งขันเว้นแต่ในกรณีดังนี้ 4.1 ลูกเป้าหรือลูกเปตองหาย หาไม่พบ(กำหนดเวลาในการค้นหา 5 นาที) 4.2 ถ้าลูกเปตองหนึ่งแตกเป็น 2 ชิ้นหรือหลายชิ้น ให้ปฏิบัติตามกฎข้อย่อยดังนี้ ก. ถ้าหมดลูกเปตองเล่นแล้ว ให้นับคะแนนจากชิ้นที่ใหญ่ที่สุด ข. ถ้ายังมีลูกเปตองเหลือเล่นอยู่ ให้นำลูกเปตองอื่นที่มีลักษณะใกล้เคียงกันมาเปลี่ยนทันทีโดยให้นำมาวางแทนที่ตำแหน่งชิ้นใหญ่ ที่สุดของลูกเปตองที่แตกนั้นแล้วเล่นต่อไปตามปกติกฎข้อ 4.2 นี้ ให้ใช้กับลูกเป้าด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น